วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ความหมายของคำว่า"มวย"
  1. อาจมีที่มาจากลักษณะการ ม้วนเชือกหรือผ้า เพื่อใช้หุ้มฝ่ามือและท่อนแขน เพื่อใช้ป้องกันอันตรายขณะต่อสู้ หรืออาจเพิ่มอันตรายในการ ชก กระแทกฟาดโดยการผสม กับ กาวแป้ง และ ผงทราย คล้ายลักษณะของ มวยผม ของ ผู้หญิงที่นิยมไว้ผมยาว(เกล้ามวย)ได้แก่ หญิงไทย/ลาวโซ่ง/หญิงล้านนาในสมัยโบราณ หรือนักมวยจีน(มุ่นผม)ซึ่งนิยม ถักเป็นเปีย แล้วม้วนพันรอบคอ ของตนซึ่งสามารถใช้ในการต่อสู้ในบางครั้ง
  2. หรือ มาจากคำภาษาบาลี ว่า "มัลละ" หมายถึง การปล้ำรัด มวยปล้ำของชาวอินเดีย มีการต่อสู้ในลักษณะเดียวกับ มวย ของ ชาวไทย มุสลิมในท้องถิ่นทาง ภาคใต้ ตลอดจนแหลม มลายู เรียกว่า ซีละ หรือ ปัญจสีลัต มีผู้บัญญัติศัพท์ว่า มวยไทยพาหุยุทธ์ โดยเปรียบว่า เป็นการต่อสู้แบบรวมเอา ศิลปะการต่อสู้ (Martial Art) ทุกแขนง โดยใช้อวัยวะทุกส่วนร่วมด้วยได้แก่ ...การใช้ ศีรษะ คาง เพื่อชน กระแทก โขก ยี ...ใช้ ท่อนแขน ฝ่ามือ และกำปั้น จับ ล็อก บล็อก บัง เหวี่ยง ฟัด ฟาด ปิด ปัด ป้อง ฟาด ผลัก ยัน ดัน ทุบ ชก ไล่แขน ศอก เฉือน ถอง กระทุ้ง พุ่ง เสย งัด ทั้งทำลายจังหวะเมื่อเสียเปรียบและหาโอกาศเข้ากระทำเมื่อได้เปรียบ ...ส่วนขา แข้ง เข่า ฝ่าเท้า ส้นเท้า ปลายเท้า ใช้ในการบัง ถีบ เตะ แตะ เกี่ยว ตวัด ฉัด ช้อน ปัด กวาด ฟาด กระแทก ทำให้บอบช้ำและเสียหลักและใช้ลำตัวในการการทุ่มทับจับหัก (มีคณะนักมวยดังในอดีตคือ ค่าย ส.ยกฟัด ใช้มาก)การประกอบรวมแม่แบบชุดต่อสู้รวมเรียกว่า แม่ไม้ และลูกไม้ 
  ประวัติศาสตร์ของมวยไทย
ประวัติศาสตร์อันยาวนานของมวยไทยเริ่มมีและใช้กันในการสงครามในสมัยก่อน ในปัจจุบันมีการดัดแปลงมวยไทยมาใช้ในกองทัพโดยเรียกว่า เลิศฤทธิ์ ซึ่งแตกต่างจากมวยไทยในปัจจุบันที่ใช้เป็นการกีฬา โดยมีการใช้นวมขึ้นเพื่อป้องกันการอันตรายที่เกิดขึ้น มวยไทยยังคงได้ชื่อว่า ศาสตร์การโจมตีทั้งแปด ซึ่งรวม สองมือ สองเท้า สองศอก และสองเข่า (บางตำราอาจเป็น นวอาวุธ ซึ่งรวมการใช้ศีรษะโจมตี หรือ ทศอาวุธ ซึ่งรวมการใช้บั้นท้ายกระแทกโจมตีด้วย)มวยไทยสืบทอดมาจากมวยโบราณ ซึ่งแบ่งออกเป็นแต่ละสายตามท้องที่นั้น ๆ โดยมีสายสำคัญหลัก ๆ เช่น มวยท่าเสา(ภาคเหนือ) มวยโคราช (ภาคอีสาน) มวยไชยา (ภาคใต้) มวยลพบุรีและมวยพระนคร (ภาคกลาง)มีคำกล่าวไว้ว่า "หมัดหนักโคราช ฉลาดลพบุรี ท่าดีไชยา ไวกว่าท่าเสา"

การศึกษาศิลปะมวยไทย
มวยไทยในสมัยโบราณจะมี สำนักเรียน (สำนักเรียนมวย แตกต่างจาก ค่ายมวย คือ สำนักเรียนจะมีเจ้าสำนัก หรือ ครูมวย ซึ่งมีฝีมือและชื่อเสียงเป็นที่เคารพรู้จัก มีความประสงค์ที่จะถ่ายทอดวิชาไม่ให้สูญหาย โดยมุ่งเน้นถ่ายทอดให้เฉพาะศิษย์ที่มีความเหมาะสม ส่วน ค่ายมวย เป็นที่รวมของผู้ที่ชื่นชอบในการชกมวย มีจุดประสงค์ที่จะแลกเปลี่ยนวิชาความรู้เพื่อนำไปใช้ในการแข่งขัน/ประลอง) โดยแยกเป็น สำนักหลวง และ สำนักราษฎร์ บ้างก็ฝึกเรียนร่วมกับเพลงดาบ กระบี่ กระบอง พลอง ทวน ง้าวและมีดหรือการต่อสู้อื่นๆ เพื่อใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัวและใช้ในการสงคราม มีทั้งพระมหากษัตริย์และขุนนางแม่ทัพนายกองและชาวบ้านทั่วไป (ส่วนใหญ่เป็นชาย)และจะมีการแข่งขันต่อสู้/ประลองกันในงานวัดและงานเทศกาลโดยมีค่ายมวยและสำนักมวยต่างๆ ส่งนักมวยและครูมวยเข้าแข่งขันชิงรางวัล/เดิมพัน โดยยึดความเสมอภาค บางครั้งจึงมีตำนานพระมหากษัตริย์หรือขุนนางที่เชี่ยวชาญการต่อสู้ปลอมตนเข้าร่วมแข่งขันเพื่อทดสอบฝีมือที่เป็นที่ปรากฏได้แก่ พระเจ้าเสือ(ขุนหลวงสรศักดิ์) พระเจ้าตากสินมหาราช พระยาพิชัยดาบหัก ครูดอก แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ จนเมื่อไทยเสียกรุงแก่พม่า ปรากฏชื่อนายขนมต้ม ครูมวยชาวอยุธยา ซึ่งถูกกวาดต้อนเป็นเชลยศึกได้ชกมวยกับชาวพม่า ชนะหลายครั้งเป็นที่ปรากฏถึงความเก่งกาจเหี้ยมหาญของวิชามวยไทย ในสมัยอยุธยา ตอนปลายได้มีการจัดตั้งกรมทนายเลือกและกรมตำรวจหลวงขึ้นมีหน้าที่ในการให้การคุ้มครองกษัตริย์และราชวงศ์ ได้มีการฝึกหัดวิชาการต่อสู้ทั้งมวยไทยและมวยปล้ำตามแบบอย่างแขกเปอร์เซีย(อิหร่าน)จึงมีครูมวยไทยและนักมวยที่มีฝีมือเข้ารับราชการจำนวนมากและได้แสดงฝีมือในการต่อสู้ในราชสำนักและหน้าพระที่นั่งในงานเทศกาลต่างๆสืบต่อกันมาเป็นประจำ
กีฬามวยไทยได้รับความนิยมมากในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ จนถึงรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 มีการชกมวยถวายหน้าพระที่นั่งเป็นประจำที่วังสวนกุหลาบทั้งการต่อสู้ประลองระหว่างนักมวย/ครูมวยชาวไทยด้วยกันและการต่อสู้ระหว่างนักมวย/ครูมวยต่างชาติ ในยุคแรกการแข่งขันมวยไทยใช้การพันมือด้วยเชือก จนกระทั่งนายแพ เลี้ยงประเสริฐ นักมวยจากท่าเสา จ.อุตรดิตถ์ ต่อยนายเจียร์ นักมวยเขมร ด้วยหมัดเหวี่ยงควายถึงแก่ความตาย จึงเปลี่ยนมาสวมนวมแทน ต่อมาเริ่มมีการกำหนดกติกาในการชก และมีเวทีมาตรฐานขึ้นแห่งแรกคือเวทีมวยลุมพินีและเวทีมวยราชดำเนินจัดแข่งขันมวยไทยมาจนปัจจุบัน จากรูปประกอบทางขวามือ เป็นการแข่งขันชกมวยในสมัย ร.๖ คนซ้ายมือเป็นมวยเลี่ยะผะ(กังฟู)ชาวจีนโพ้นทะเล ชื่อนายจี่ฉ่าง ส่วนคนขวามือคือ นายยัง หาญทะเล จรดมวยแบบมวยโคราชซึ่งเน้นการยืดตัวตั้งตระหง่านพร้อมที่จะรุกและรับโดยเน้นการใช้เท้าและหมัดเหวี่ยง และต่อมาได้เป็นแบบอย่างในการฝึกหัดมวยไทยในสถาบันพลศึกษาส่วนใหญ่
ครูมวยไทยที่มีชื่อเสียง
ในยุคเก่าได้แก่:
ครูมวยไทยที่มีชื่อเสียงในยุคปัจจุบัน ได้แก่
นักมวยไทยมีชื่อเสียงโด่งดัง
ก่อน พ.ศ. 2499
พ.ศ. 2499 - พ.ศ. 2520
พ.ศ. 2520 - ปัจจุบัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีนักมวยไทยซึ่งเป็นชาวต่างชาติที่มีฝีมือเทียบชั้นกับยอดมวยไทย เช่น ไอ้กังหันนรก รามอน เด็กเกอร์ Ramon Dekker แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของศิลปะมวยไทยที่เป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก จนถึงปัจจุบันนี้ มีคณะ/ค่ายมวยไทยมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีเวทีมวยไทยมาตรฐานได้แก่ เวทีลุมพินี เวทีราชดำเนิน มีสถาบันการสอนมวยไทยทั้งที่เป็นสำนักเรียน สถาบันการพลศึกษา มีการจัดการเรียนการสอนวิชามวยไทยในระดับปริญญาตรี/โท ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงได้มีโครงการจัดสอนถึงระดับปริญญาเอก และมีองค์กรส่งเสริมควบคุมมาตรฐานและการจัดการแข่งขันมวยไทยระดับชาติและนานาชาติ มีกฎหมายในการควบคุมและคุ้มครองการจัดชกมวย
หลักการชกมวยไทย
การชกมวยไทยที่ดี มีหลักสำคัญ คือ มีการป้องกัน ด้วยการยืน มั่นคง เข้มแข็ง สูงเด่น การตั้งแขนป้องกัน (การการ์ดมวย)และการเก็บคาง เปรียบเสมือนป้อมปราการ เท้าหน้า จรดชี้ไปข้างหน้าวางน้ำหนักครึ่งฝ่าเท้า เท้าหลัง วางทแยงเฉียงกว้างกว่าหัวไหล่วางน้ำหนักเศษหนึ่งส่วนสี่ไว้ที่อุ้งนิ้วหัวแม่โป้ง ขยับก้าวด้วยการลากเท้าหลังตามพร้อมที่จะหลอกล่อ ขยับเข้า ออก ตั้งรับและโจมตีตอบโต้ แขนหน้ายกกำขึ้นอย่างน้อยเสมอไหล่ หรือจรดสันแก้ม แขนหลังยกกำขึ้นจรดแก้ม ศอกทั้งสองข้างไม่กางออกและไม่แนบชิด ก้มหน้าเก็บคาง ตาเขม็งมองไปตรงหว่างอกของคู่ต้อสู้ พร้อมที่จะเห็นการเคลื่อนไหวทุกส่วน เพื่อที่จะรุก รับ หรือตอบโต้ด้วยแม่ไม้ ลูกไม้และการแจกลูกต่างๆ มีการเคลื่อนไหวที่องอาจมีจังหวะ มีการล่อหลอกและขู่ขวัญประดุจพญาราชสีห์ และพญาคชสีห์ อาวุธมวยที่ออกไป ต้องมีเป้าหมายและจุดประสงค์แน่นอน(แต่มักซ้อนกลลวงไว้) มีการต่อสู้ระยะไกล(วงนอก)และระยะประชิด(วงใน)และมีทีเด็ดทีขาดในการพิชิตคู่ต่อสู้ แม่ไม้มวยไทยที่รู้จักแพร่หลาย อาทิ จระเข้ฟาดหาง(หมุนตัวแล้วฟาดตวัดด้วยวงเท้าหลัง), เถรกวาดลาน(เตะกวาดล่างวงนอกรวบสองเท้าให้เสียหลัก) ,หนุมาณถวายแหวน(ชกหมัดเสยพร้อมกันสองข้าง),มอญยันหลัก(ถีบลำตัวให้เสียหลัก),หักงวงไอยรา(เหยียบคู่ต่อสู้เพื่อยกตัวเตะตวัดก้านคอ),บั่นเศียรทศกัณฑ์ (เตะก้านคอ),ปักลูกทอย(ปักศอกลงตรงหน้าขาคูต่อสู้), มณโฑนั่งแทน(กระโดดขึ้นปักศอกลงกลางกระหม่อม), หิรัญม้วนแผ่นดิน (ศอกกลับ) ,พระรามเดินดง (เตะแล้วต่อยตามข้างเดียวกัน),มอญแทงกริช (ถองด้วยศอกบริเวณซี่โครงอ่อน),ฤๅษีบดยา (กระโดดปักศอกกลางศีรษะ),พุ่งหอกโมกขศักดิ์ (ตั้งศอกเหนือศีรษะพุ่งเข้าบริเวณใบหน้า)ฯลฯ ลูกไม้ มีทั้งลูกผสมและลูกแยก เพื่อใช้หลอกล่อและเผด็จศึก เช่น แตะตรงเตะ แตะถีบเตะ แตะตรงถีบเตะ,ลูกเตะสลับ เตะช้อน เตะตวัด เตะสูง เตะสวาบ เตะพับนอกพับใน เตะคา เตะเขี่ยล่าง,ลูกถีบหน้า ถีบหลัง ถีบจิก,ลูกศอกตี ตัด งัด พุ่ง กระทุ้ง กลับ,ลูกเข่าน้อย เข่าลา เข่าโค้ง เข่าตี เข่ากระทุ้ง เข่าลอย เข่าแหลม เข่าคา,ลูกหมัดหน้า หมัดหลัง หมัดลัก หมัดอ้อม หมัดเกี่ยว หมัดสอย หมัดเสย หมัดซ้ำ หมัดหนึ่งสอง หมัดชุดสามเหลี่ยม นอกจากนี้ยังมีการใช้ส่วนที่ไม่เป็นอาวุธในกาป้องกัน/สร้างจังหวะในการตอบโต้ เช่น การใช้ฝ่ามือในการบัง ปิด ปัด ดึง ดัน ผลัก โหน ค้ำ ขวาง กด ใช้เท้าในการเต้น กระโดด ใช้หัวไหล่หรือลำตัวในการหลอกล่อ ฯลฯ

มายไทย

ความหมายของคำว่า"มวย"
1. อาจมีที่มาจากลักษณะการ ม้วนเชือกหรือผ้า เพื่อใช้หุ้มฝ่ามือและท่อนแขน เพื่อใช้ป้องกันอันตรายขณะต่อสู้ หรืออาจเพิ่มอันตรายในการ ชก กระแทกฟาดโดยการผสม กับ กาวแป้ง และ ผงทราย คล้ายลักษณะของ มวยผม ของ ผู้หญิงที่นิยมไว้ผมยาว(เกล้ามวย)ได้แก่ หญิงไทย/ลาวโซ่ง/หญิงล้านนาในสมัยโบราณ หรือนักมวยจีน(มุ่นผม)ซึ่งนิยม ถักเป็นเปีย แล้วม้วนพันรอบคอ ของตนซึ่งสามารถใช้ในการต่อสู้ในบางครั้ง
หรือ มาจากคำภาษาบาลี ว่า "มัลละ" หมายถึง การปล้ำรัด มวยปล้ำของชาวอินเดีย มีการต่อสู้ในลักษณะเดียวกับ มวย ของ ชาวไทย มุสลิมในท้องถิ่นทาง ภาคใต้ ตลอดจนแหลม มลายู เรียกว่า ซีละ หรือ ปัญจสีลัต มีผู้บัญญัติศัพท์ว่า มวยไทยพาหุยุทธ์ โดยเปรียบว่า เป็นการต่อสู้แบบรวมเอา ศิลปะการต่อสู้ (Martial Art) ทุกแขนง โดยใช้อวัยวะทุกส่วนร่วมด้วยได้แก่ ...การใช้ ศีรษะ คาง เพื่อชน กระแทก โขก ยี ...ใช้ ท่อนแขน ฝ่ามือ และกำปั้น จับ ล็อก บล็อก บัง เหวี่ยง ฟัด ฟาด ปิด ปัด ป้อง ฟาด ผลัก ยัน ดัน ทุบ ชก ไล่แขน ศอก เฉือน ถอง กระทุ้ง พุ่ง เสย งัด ทั้งทำลายจังหวะเมื่อเสียเปรียบและหาโอกาศเข้ากระทำเมื่อได้เปรียบ ...ส่วนขา แข้ง เข่า ฝ่าเท้า ส้นเท้า ปลายเท้า ใช้ในการบัง ถีบ เตะ แตะ เกี่ยว ตวัด ฉัด ช้อน ปัด กวาด ฟาด กระแทก ทำให้บอบช้ำและเสียหลักและใช้ลำตัวในการการทุ่มทับจับหัก (มีคณะนักมวยดังในอดีตคือ ค่าย ส.ยกฟัด ใช้มาก)การประกอบรวมแม่แบบชุดต่อสู้รวมเรียกว่า แม่ไม้ และลูกไม้ ประวัติศาสตร์ของมวยไทย
ประวัติศาสตร์อันยาวนานของมวยไทยเริ่มมีและใช้กันในการสงครามในสมัยก่อน ในปัจจุบันมีการดัดแปลงมวยไทยมาใช้ในกองทัพโดยเรียกว่า เลิศฤทธิ์ ซึ่งแตกต่างจากมวยไทยในปัจจุบันที่ใช้เป็นการกีฬา โดยมีการใช้นวมขึ้นเพื่อป้องกันการอันตรายที่เกิดขึ้น มวยไทยยังคงได้ชื่อว่า ศาสตร์การโจมตีทั้งแปด ซึ่งรวม สองมือ สองเท้า สองศอก และสองเข่า (บางตำราอาจเป็น นวอาวุธ ซึ่งรวมการใช้ศีรษะโจมตี หรือ ทศอาวุธ ซึ่งรวมการใช้บั้นท้ายกระแทกโจมตีด้วย)
มวยไทยสืบทอดมาจากมวยโบราณ ซึ่งแบ่งออกเป็นแต่ละสายตามท้องที่นั้น ๆ โดยมีสายสำคัญหลัก ๆ เช่น มวยท่าเสา(ภาคเหนือ) มวยโคราช (ภาคอีสาน) มวยไชยา (ภาคใต้) มวยลพบุรีและมวยพระนคร (ภาคกลาง)มีคำกล่าวไว้ว่า "หมัดหนักโคราช ฉลาดลพบุรี ท่าดีไชยา ไวกว่าท่าเสา"
การศึกษาศิลปะมวยไทย
มวยไทยในสมัยโบราณจะมี สำนักเรียน (สำนักเรียนมวย แตกต่างจาก ค่ายมวย คือ สำนักเรียนจะมีเจ้าสำนัก หรือ ครูมวย ซึ่งมีฝีมือและชื่อเสียงเป็นที่เคารพรู้จัก มีความประสงค์ที่จะถ่ายทอดวิชาไม่ให้สูญหาย โดยมุ่งเน้นถ่ายทอดให้เฉพาะศิษย์ที่มีความเหมาะสม ส่วน ค่ายมวย เป็นที่รวมของผู้ที่ชื่นชอบในการชกมวย มีจุดประสงค์ที่จะแลกเปลี่ยนวิชาความรู้เพื่อนำไปใช้ในการแข่งขัน/ประลอง) โดยแยกเป็น สำนักหลวง และ สำนักราษฎร์ บ้างก็ฝึกเรียนร่วมกับเพลงดาบ กระบี่ กระบอง พลอง ทวน ง้าวและมีดหรือการต่อสู้อื่นๆ เพื่อใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัวและใช้ในการสงคราม มีทั้งพระมหากษัตริย์และขุนนางแม่ทัพนายกองและชาวบ้านทั่วไป (ส่วนใหญ่เป็นชาย)และจะมีการแข่งขันต่อสู้/ประลองกันในงานวัดและงานเทศกาลโดยมีค่ายมวยและสำนักมวยต่างๆ ส่งนักมวยและครูมวยเข้าแข่งขันชิงรางวัล/เดิมพัน โดยยึดความเสมอภาค บางครั้งจึงมีตำนานพระมหากษัตริย์หรือขุนนางที่เชี่ยวชาญการต่อสู้ปลอมตนเข้าร่วมแข่งขันเพื่อทดสอบฝีมือที่เป็นที่ปรากฏได้แก่ พระเจ้าเสือ(ขุนหลวงสรศักดิ์) พระเจ้าตากสินมหาราช พระยาพิชัยดาบหัก ครูดอก แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ จนเมื่อไทยเสียกรุงแก่พม่า ปรากฏชื่อนายขนมต้ม ครูมวยชาวอยุธยา ซึ่งถูกกวาดต้อนเป็นเชลยศึกได้ชกมวยกับชาวพม่า ชนะหลายครั้งเป็นที่ปรากฏถึงความเก่งกาจเหี้ยมหาญของวิชามวยไทย ในสมัยอยุธยา ตอนปลายได้มีการจัดตั้งกรมทนายเลือกและกรมตำรวจหลวงขึ้นมีหน้าที่ในการให้การคุ้มครองกษัตริย์และราชวงศ์ ได้มีการฝึกหัดวิชาการต่อสู้ทั้งมวยไทยและมวยปล้ำตามแบบอย่างแขกเปอร์เซีย(อิหร่าน)จึงมีครูมวยไทยและนักมวยที่มีฝีมือเข้ารับราชการจำนวนมากและได้แสดงฝีมือในการต่อสู้ในราชสำนักและหน้าพระที่นั่งในงานเทศกาลต่างๆสืบต่อกันมาเป็นประจำ
กีฬามวยไทยได้รับความนิยมมากในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ จนถึงรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 มีการชกมวยถวายหน้าพระที่นั่งเป็นประจำที่วังสวนกุหลาบทั้งการต่อสู้ประลองระหว่างนักมวย/ครูมวยชาวไทยด้วยกันและการต่อสู้ระหว่างนักมวย/ครูมวยต่างชาติ ในยุคแรกการแข่งขันมวยไทยใช้การพันมือด้วยเชือก จนกระทั่งนายแพ เลี้ยงประเสริฐ นักมวยจากท่าเสา จ.อุตรดิตถ์ ต่อยนายเจียร์ นักมวยเขมร ด้วยหมัดเหวี่ยงควายถึงแก่ความตาย จึงเปลี่ยนมาสวมนวมแทน ต่อมาเริ่มมีการกำหนดกติกาในการชก และมีเวทีมาตรฐานขึ้นแห่งแรกคือเวทีมวยลุมพินีและเวทีมวยราชดำเนินจัดแข่งขันมวยไทยมาจนปัจจุบัน จากรูปประกอบทางขวามือ เป็นการแข่งขันชกมวยในสมัย ร.๖ คนซ้ายมือเป็นมวยเลี่ยะผะ(กังฟู)ชาวจีนโพ้นทะเล ชื่อนายจี่ฉ่าง ส่วนคนขวามือคือ นายยัง หาญทะเล จรดมวยแบบมวยโคราชซึ่งเน้นการยืดตัวตั้งตระหง่านพร้อมที่จะรุกและรับโดยเน้นการใช้เท้าและหมัดเหวี่ยง และต่อมาได้เป็นแบบอย่างในการฝึกหัดมวยไทยในสถาบันพลศึกษาส่วนใหญ่
ครูมวยไทยที่มีชื่อเสียง
ในยุคเก่าได้แก่:
• กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
• นายยัง หาญทะเล
• นายนิล ปักษี
• หลวงวิศาลดรุณกร(อั๋น สาริกบุตร)
• ครูสุนทร(กิมเส็ง)ทวีสิทธิ์ ค่ายทวีสิทธิ์ครูสุนทร(กิมเส็ง)ทวีสิทธิ์ ค่ายทวีสิทธิ์
• ปรมาจารย์ตันกี้ ยนตรกิจ (เตี่ย) ค่ายยนตรกิจ
• ครูเขตร ศรียาภัย
ครูมวยไทยที่มีชื่อเสียงในยุคปัจจุบัน ได้แก่
• ครูแสวง ศิริไปล่ (ว.พลศึกษา)เสียชีวิตแล้ว
• ครูบัว วัดอิ่ม (วัดอิ่ม)เสียชีวิตแล้ว
• ครูสนอง รักวานิช (ค่ายเมืองสุรินทร์)เสียชีวิตแล้ว
• ครูไฉน ผ่องสุภา (ค่ายศศิประภายิม)เสียชีวิตแล้ว
• ครูทองหล่อ ยาและ[1]
• ครูแปรง ประธานมูลนิธิมวยไทยไชยาแห่งประเทศไทยครูแปรง มวยไชยา
• ครูตุ๊ย ยอดธง เสนานันท์
• ครูผจญ เมืองสนธิ์
• ครูจรวย แก่นวงษ์คำ
• ครูวิชิต ชี้เชิญ
• ครูสงวน มีระหงษ์
• ครูปราโมทย์ หอยมุกข์ (ค่ายหนองกี่พาหุยุทธ์)
• ครูเลาะห์ มะลิพันธ์ (ค่ายศิษย์ขุน)
• ครูครื้น อรัญดร (ค่ายชำณาญวารี)
• ครูโพธิ์สวัสดิ์ แสงสว่าง
• ครูหมู ผุดผาดน้อย วรวุฒิ
• ครูชาญณรงค์ สุหงษา
• ครูวิชิต ไพรอนันต์(ฉลามขาว)
• ครูเป็ด สุรัตน์ เสียงหล่อ (ค่ายเดชรัตน์)
• ครูยุทธนา วงษ์บ้านดู่
• ครูเล็ก (บ้านช่างไทย)
• ครูเจริญทอง เกียรติบ้านช่อง
• ครูมัด (บ้านภูวศักดิ์)
• ครูมวยไทยในต่างประเทศ อาจารย์ชัย สุรชัย ศิริสูตร์
นักมวยไทยมีชื่อเสียงโด่งดัง
ก่อน พ.ศ. 2499
• หมื่นมวยมีชื่อ(นายปล่อง จำนงทอง)ชาวไชยา
• หมื่นมือแม่นหมัด(นายกลิ้ง บ้านทะเลชุบศร ลพบุรี)
• หมื่นชงัดเชิงชก(นายแดง ไทยประเสริฐ)ชาวโคราช
• นายทับ จำเกาะ (จนมีคำเรียกขานในยุคนั้นว่า หมัดนายจีน ตีนนายทับ)
• นายยัง หาญทะเลชาวโคราช
• ครูนิล ปักษีบ้านพุมเรียง
• นายกลับ อินทรกลับ
• นายอินทร์ ศักดิ์เดช
• นายสอน เพชรศักดิ์
• นายตู้ ไทยประเสริฐ
• นายยัง วันธงชัย (ยัง หนุมาน)
• นายพูน ศักดา (ต้นตำรับ ศอกกลับคนแรก)
• นายทิม อติเปรมานนท์
• นายสุวรรณ นิวาสวัติ
• นายชุบ นิวาสะวัติ
• นายทอง เอกบุศย์ (ครูทอง เอกบุศย์)
• นายนิยม ทองชิต (เทรนเนอร์ โผน กิ่งเพชร)
• นายจีนไก่ แซ่ฮุ้น
• นายแอ ม่วงดี (บังแอ)
• นายหวัง มะหะหมัด
• นายซ้อน ศรียานงค์
• นายประยงค์ แช่มศรีดิษฐ์
• ปักษาร้าย วิหค เทียมกำแหง
• กระทิงเปลี่ยว ผล พระประแดง
• ยักษ์ผีโขมด สุข ปราสาทหินพิมาย
• ทองใบ ยนตรกิจ(อ้ายยางตัน)
• เชาว์ พงางาม เชาว์ ยนตรกิจ
• แนบ แมวป่าหน้าหนู แนบ ยนตรกิจ
• เสริม เข่าเหล็ก เสริม ยนตรกิจ
• วัลลภ หมัดซิยินกุ้ย วัลลภ ยนตรกิจ
• เกียรติ ยนตรกิจ
• พระเอกยอดนักมวย ชูชัย พระขรรค์ชัย
• จรวดทัพฟ้า ราวี เดชาชัย
พ.ศ. 2499 - พ.ศ. 2520
• ขวัญใจนักเรียน อดุลย์ ศรีโสธร
• ซ้ายฟ้าฟาด เขียวหวาน ยนตรกิจ
• จอมตลุย นำศักดิ์ ยนตรกิจ
• หนามเตย ยนตรกิจ พันเอกพิเศษนรินทร์ พวงแก้ว
• จอมเตะบางนกแขวก อภิเดช ศิษย์หิรัญ
• คงเดช ลูกบางปลาสร้อย
• สุภาพบุรุษนักชก ศิริมงคล ลูกศิริพัฒน์
• จอมย่างสามขุม เดชฤทธิ์ อิทธิอนุชิต(ยนตรกิจ,อินทรบุตร)
• ปราบธรณี เมืองสุรินทร์
• สุภาพบุรุษนักมวย วิชาญ (ส.พินิจศักดิ์)ชำณาญวารี
• พรชัย แหลมฟ้าผ่า (ส.ท่ายาง)
• ไอ้หนูเมืองตรัง พุฒ ล้อเหล็ก
• สุริยาบ้าเลือด วิสันต์ ไกรเกรียงยุค
• ขุนค้อนเพชรฆาต หัวไทร สิทธิบุญเลิศ
• ไอ้หมูแข้งทอง ผุดผาดน้อย วรวุฒิ
• นักชกอมตะ วิชาญน้อย พรทวี
• ม้าสีหมอก ประยุทธ อุดมศักดิ์
• ไอ้หมัดสากเหล็ก สำราญศักดิ์ เมืองสุรินทร์
• พ่อบานไม่รู้โรย ฉมวกเพชร ห้าพลัง
• เพชฌฆาตหน้าหยก สามารถ พยัคฆ์อรุณ
• ขุนเข่าเสาโทรเลข ดีเซลน้อย ช.ธนะสุกาญจน์
พ.ศ. 2520 - ปัจจุบัน
• ฉลามดำ เชอรี่ ส.วานิช
• ขุนเข่าหน้าเปื่อย นำพล หนองกี่พาหุยุทธ
• ไอ้แรดดง เหนือธรณี ทองราชา
• ไข่มุกดำ โอเล่ห์ เกียรติวันเวย์
• เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง
• ขุนเข่าไร้น้ำใจ หลังสวน พันธุ์ยุทธภูมิ
• ฉลามร้ายจากฝั่งทะเลตะวันออก ก้องธรณี พยัคฆ์อรุณ
• ขุนเข่ากินคน เพชรดำ ลูกบ่อไร่
• ไอ้หนุ่มชีวาส วังจั่นน้อย ส.พลังชัย
• ไอ้เสือเผ่น สานิตย์ วิชิตเกรียงไกร
• ไอ้เซียน คฤหาสถ์ ส.สุภาวรรณ
• จอมจุมพิต แสงเทียนน้อย ส.รุ่งโรจน์
• ไอ้หมัดรีโมท ซุปเปอร์เล็ก ศรอีสาน
• ซ้ายมหากาฬ เมธี เจดีย์พิทักษ์
• แรมโบ้ พงษ์ศิริ พ.ร่วมฤดี
• ไอ้เลือดเหล็ก ไพโรจน์ ส.สยามชัย
• จอมไถนา นำขบวน หนองกี่พาหุยุทธ
• ไอ้ศอกขวานบิน อนันตศักดิ์ พันธุ์ยุทธภูมิ
• ไอ้หมัดไซโคลนนรก หยกไท ศิษย์ อ.
• ดำดอตคอม บัวขาว ป. ประมุข แชมป์ เควัน 2สมัย (2004, 2006)
• ยอดแสนไกล แฟร์เท็กซ์
• แสนชัย ส คิงสตาร์
• เข้ม ศิษย์สองพี่น้อง
• อรรถชัย แฟร์เท็กซ์
• เพชฌฆาตขนตางอน อนุวัติ แก้วสัมฤทธิ์
• สิทธิชัย ศิษย์สองพี่น้อง
• แรมโบ้สายพันธุ์ใหม่ โบวี่ ส อุดมสร
• สุดสาคร ส กลิ่นมี แชมป์มวยไทย7สี
• ผจญศึก ป ประมุข
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีนักมวยไทยซึ่งเป็นชาวต่างชาติที่มีฝีมือเทียบชั้นกับยอดมวยไทย เช่น ไอ้กังหันนรก รามอน เด็กเกอร์ Ramon Dekker แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของศิลปะมวยไทยที่เป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก จนถึงปัจจุบันนี้ มีคณะ/ค่ายมวยไทยมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีเวทีมวยไทยมาตรฐานได้แก่ เวทีลุมพินี เวทีราชดำเนิน มีสถาบันการสอนมวยไทยทั้งที่เป็นสำนักเรียน สถาบันการพลศึกษา มีการจัดการเรียนการสอนวิชามวยไทยในระดับปริญญาตรี/โท ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงได้มีโครงการจัดสอนถึงระดับปริญญาเอก และมีองค์กรส่งเสริมควบคุมมาตรฐานและการจัดการแข่งขันมวยไทยระดับชาติและนานาชาติ มีกฎหมายในการควบคุมและคุ้มครองการจัดชกมวย
หลักการชกมวยไทย
การชกมวยไทยที่ดี มีหลักสำคัญ คือ มีการป้องกัน ด้วยการยืน มั่นคง เข้มแข็ง สูงเด่น การตั้งแขนป้องกัน (การการ์ดมวย)และการเก็บคาง เปรียบเสมือนป้อมปราการ เท้าหน้า จรดชี้ไปข้างหน้าวางน้ำหนักครึ่งฝ่าเท้า เท้าหลัง วางทแยงเฉียงกว้างกว่าหัวไหล่วางน้ำหนักเศษหนึ่งส่วนสี่ไว้ที่อุ้งนิ้วหัวแม่โป้ง ขยับก้าวด้วยการลากเท้าหลังตามพร้อมที่จะหลอกล่อ ขยับเข้า ออก ตั้งรับและโจมตีตอบโต้ แขนหน้ายกกำขึ้นอย่างน้อยเสมอไหล่ หรือจรดสันแก้ม แขนหลังยกกำขึ้นจรดแก้ม ศอกทั้งสองข้างไม่กางออกและไม่แนบชิด ก้มหน้าเก็บคาง ตาเขม็งมองไปตรงหว่างอกของคู่ต้อสู้ พร้อมที่จะเห็นการเคลื่อนไหวทุกส่วน เพื่อที่จะรุก รับ หรือตอบโต้ด้วยแม่ไม้ ลูกไม้และการแจกลูกต่างๆ มีการเคลื่อนไหวที่องอาจมีจังหวะ มีการล่อหลอกและขู่ขวัญประดุจพญาราชสีห์ และพญาคชสีห์ อาวุธมวยที่ออกไป ต้องมีเป้าหมายและจุดประสงค์แน่นอน(แต่มักซ้อนกลลวงไว้) มีการต่อสู้ระยะไกล(วงนอก)และระยะประชิด(วงใน)และมีทีเด็ดทีขาดในการพิชิตคู่ต่อสู้ แม่ไม้มวยไทยที่รู้จักแพร่หลาย อาทิ จระเข้ฟาดหาง(หมุนตัวแล้วฟาดตวัดด้วยวงเท้าหลัง), เถรกวาดลาน(เตะกวาดล่างวงนอกรวบสองเท้าให้เสียหลัก) ,หนุมาณถวายแหวน(ชกหมัดเสยพร้อมกันสองข้าง),มอญยันหลัก(ถีบลำตัวให้เสียหลัก),หักงวงไอยรา(เหยียบคู่ต่อสู้เพื่อยกตัวเตะตวัดก้านคอ),บั่นเศียรทศกัณฑ์ (เตะก้านคอ),ปักลูกทอย(ปักศอกลงตรงหน้าขาคูต่อสู้), มณโฑนั่งแทน(กระโดดขึ้นปักศอกลงกลางกระหม่อม), หิรัญม้วนแผ่นดิน (ศอกกลับ) ,พระรามเดินดง (เตะแล้วต่อยตามข้างเดียวกัน),มอญแทงกริช (ถองด้วยศอกบริเวณซี่โครงอ่อน),ฤๅษีบดยา (กระโดดปักศอกกลางศีรษะ),พุ่งหอกโมกขศักดิ์ (ตั้งศอกเหนือศีรษะพุ่งเข้าบริเวณใบหน้า)ฯลฯ ลูกไม้ มีทั้งลูกผสมและลูกแยก เพื่อใช้หลอกล่อและเผด็จศึก เช่น แตะตรงเตะ แตะถีบเตะ แตะตรงถีบเตะ,ลูกเตะสลับ เตะช้อน เตะตวัด เตะสูง เตะสวาบ เตะพับนอกพับใน เตะคา เตะเขี่ยล่าง,ลูกถีบหน้า ถีบหลัง ถีบจิก,ลูกศอกตี ตัด งัด พุ่ง กระทุ้ง กลับ,ลูกเข่าน้อย เข่าลา เข่าโค้ง เข่าตี เข่ากระทุ้ง เข่าลอย เข่าแหลม เข่าคา,ลูกหมัดหน้า หมัดหลัง หมัดลัก หมัดอ้อม หมัดเกี่ยว หมัดสอย หมัดเสย หมัดซ้ำ หมัดหนึ่งสอง หมัดชุดสามเหลี่ยม นอกจากนี้ยังมีการใช้ส่วนที่ไม่เป็นอาวุธในกาป้องกัน/สร้างจังหวะในการตอบโต้ เช่น การใช้ฝ่ามือในการบัง ปิด ปัด ดึง ดัน ผลัก โหน ค้ำ ขวาง กด ใช้เท้าในการเต้น กระโดด ใช้หัวไหล่หรือลำตัวในการหลอกล่อ ฯลฯ